EN

11 พฤศจิกายน 2565

“Energy in Harmony with Nature” ความมั่นคงด้านพลังงานและการดูแลโลกให้ยั่งยืน

สมดุลที่เป็นไปได้ ด้วยการดูดซับและเก็บกักคาร์บอนฯ ทางธรรมชาติและด้วยเทคโนโลยี

รู้หรือไม่ว่า การใช้พลังงานทั่วโลกใช้รวมกันทั้งหมดในแต่ละวันนั้น เท่ากับ 1.7 ล้านล้านล้านจูล (EJ) เทียบเท่ากับเครื่องบินขนาดใหญ่อย่างโบอิ้ง 747 เดินทางรอบโลกได้มากกว่า 100,000 รอบ หรือไปดวงจันทร์ 5,000 รอบ นับเป็นพลังงานปริมาณมหาศาล

ข้อมูลจากการบรรยายพิเศษโดย ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หัวข้อ “Energy Security and Carbon Sequestration” ภายในงานสัมมนาประจำปีที่กลุ่มบริษัทบางจาก จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ ปี 2554 เป็นต้นมา เพื่อสะท้อนให้สาธารณชนได้เห็นถึงประเด็นด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่ควรตระหนักและร่วมมือกันแก้ไขหรือพัฒนา เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วน

ด้วยปริมาณการใช้พลังงานอย่างมหาศาลตามที่กล่าวมา และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานซึ่งไม่สามารถเกิดได้ชั่วข้ามคืน ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจะยังคงเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของโลกไปอีกหลายทศวรรษ กลุ่มบริษัทบางจาก จึงให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลระหว่างความท้าทายด้านพลังงาน 3 ประการ (Balancing the Energy Trilemma) ได้แก่ ความมั่นคงด้านพลังงาน (Energy Security) การเข้าถึงพลังงาน (Energy Affordability) และความยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (Environmental Sustainability)

ชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทบางจาก และ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

“โลกเราใช้พลังงานเยอะมาก ทำให้การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดต้องใช้ทั้งเวลาและเงินลงทุนมหาศาล รวมทั้งเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อมาช่วยกันสร้างระบบนิเวศใหม่ ไม่ว่าจะเป็นพลังงานสะอาด การดูดซับคาร์บอนฯ หรือเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ Synthetic Biology รวมถึงเชื้อเพลิงอนาคตอย่างไฮโดรเจน เป็นสิ่ง ที่เราต้องช่วยกันผลักดัน ช่วยกันลงทุน สร้างระบบนิเวศที่จะช่วยให้เราอยู่กับฟอสซิล มีความมั่นคงด้านพลังงาน และร่วมดูแลโลกไปได้พร้อมกัน”

แล้ววันนี้เราจะอยู่กับพลังงานฟอสซิลได้อย่างไรให้ยั่งยืน

CEO กลุ่มบริษัทบางจาก กล่าวต่อว่า การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไม่ใช่การปิดสวิตซ์ พลังงานหมุนเวียนไม่ใช่คำตอบเดียว ในโลกที่เรายังคงต้อง การความมั่นคงด้านพลังงาน ในราคาที่เข้าถึงได้ ฟอสซิลยังเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ แต่ปัญหาของฟอสซิลคือปล่อยคาร์บอนฯ เราต้องต้องแก้ด้วยการดูดซับและกักเก็บคาร์บอนฯ ไม่ว่าจะเป็นทางธรรมชาติ เช่น ปลูกต้นไม้ ปลูกและอนุรักษ์ป่า ฟื้นฟูป่าชายเลนและแหล่งหญ้าทะเล ฯลฯ และการดูดซับและกักเก็บด้วยเทคโนโลยี อาทิ Carbon Capture and Storage และ Direct Air Capture เป็นต้น เพราะสุดท้ายแล้วการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องไปด้วยกัน เพื่อโลกยั่งยืน

ปัจจัยสำคัญที่ช่วยเร่งให้การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานได้เร็วขึ้น คือ Taxonomy หรือการจัดหมวดหมู่ธุรกิจการลงทุนที่ช่วยลดคาร์บอนฯ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าให้การลงทุนที่จะช่วยให้เกิดการลดคาร์บอนฯ รวมถึงการกำหนดนโยบายด้านการเงิน เช่น ภาษีคาร์บอนฯ และการสนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิต จะทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรโดยภาคเอกชนกันเอง

โดยธุรกิจที่ปล่อยคาร์บอนฯ มาก ซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นการชดเชย และนำเงินส่วนนั้นมาพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด ช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนผ่านอีกทางหนึ่ง

Taxonomy จัดหมวดหมู่การลงทุนที่ลดคาร์บอนฯ หนึ่งกุญแจสำคัญสู่การเปลี่ยนผ่าน

ดร. ปรเมธี วิมลศิริ ประธานกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “Sustainable Finance Taxonomy” ว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าคือ Taxonomy ซึ่งจะเป็นเครื่องมือดึงดูดเงินทุนไปสู่การลงทุนที่สนับสนุนการปรับตัวของประเทศไทยเข้าสู่เป้าหมาย Net Zero Taxonomy คือ การกำหนดนิยามจัดหมวดหมู่กิจกรรมที่สอดคล้องเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่สอดคล้องบนแนวทางความยั่งยืนให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อช่วยกำหนดกิจกรรมเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย ภาคเอกชนก็สามารถนำไปใช้อ้างอิงในการดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการวางนโยบายกำกับสนับสนุน การสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ การเข้าถึงแหล่งทุนต่าง ๆ

“ภาคการเงินก็ให้ความสำคัญเรื่องสมดุลในการปรับตัวสู่ความยั่งยืน ที่ต้องคำนึงถึงบริบทของประเทศ ความพร้อมภาคเศรษฐกิจของประเทศ ไทยยังพึ่งพิงพลังงานฟอสซิลอยู่มาก เทคโนโลยีเป็นแบบดั้งเดิมที่ยังไม่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสูงสุด ธุรกิจและองค์กรขนาดเล็กอาจไม่มีขีดความสามารถและความพร้อมประสิทธิภาพด้านการเงิน ดังนั้น ต้องคำนึงถึงผลกระทบ สร้างการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่น ไม่ช้าเกินไปจนอาจมีต้นทุนสูงในอนาคต และไม่เร็วเกินไปจนส่งผลด้านเศรษฐกิจ การตั้งคณะทำงานเรื่อง Taxonomy จึงเป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งปีหน้านี้ ประเทศไทยน่าจะเห็นกฎระเบียบแผนงานที่ชัดเจนเริ่มจาก 2 อุตสาหกรรมหลักอย่างภาคพลังงานและภาคขนส่ง”

การทำงานร่วมกันแบบองค์รวม จะเป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนผ่าน

Mr. Roberto Bocca, Head of Platform for Shaping the Future of Energy, Materials and Infrastructure, World Economic Forum หนึ่งในวิทยากรรับเชิญกล่าวว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเป็นผู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านพลังงานและการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานต้องการปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญหลายด้าน การพัฒนาเทคโนโลยี การกำหนดนโยบายที่ชัดเจน การวาง แผนการเงิน การค้นคว้าวิจัยด้านวัตถุดิบ และทรัพยากร การปฏิวัติโมเดลธุรกิจเพื่อการเติบโตทางกำไรในบริบทการทำธุรกิจใหม่และการสร้างโมเดลความร่วมมือใหม่ ๆ ในทุกระดับและทุกภาคส่วน ระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันได้มีการปรับจนอิ่มตัวแล้ว จึงมีเพียงรูปแบบใหม่ ๆ ของความร่วมมือเท่านั้นที่สามารถขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่จำเป็นได้ เราต้องหลีกเลี่ยงการทำงานแบบไซโล แต่ควรเป็นการทำงานร่วมกันแบบ องค์รวม

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.bangchak.co.th และรับชมย้อนหลังได้ทาง Facebook: Bangchak

ความน่าตื่นเต้นของ Gold Hydrogen คือ สามารถช่วยคืนชีวิตใหม่ให้กับแหล่งพลังงานดั้งเดิมอย่างน้ำมันและก๊าซ จากการใช้เทคโนโลยีมาผลิตไฮโดรเจนคาร์บอนฯ ต่ำ ในต้นทุนที่แข่งขันได้ และช่วยเร่งสร้างรากฐานของเศรษฐกิจคาร์บอนฯ ต่ำที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน
- Mr. Moji Karimi -
Co-Founder and CEO, Cemvita Factory Inc. สตาร์ทอัพจากสหรัฐอเมริกา
เราเชื่อมั่นว่าการดักจับ นำมาใช้ประโยชน์ และมากักเก็บคาร์บอนฯ (CCUS) จะช่วยทำให้เราเดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero ตามข้อตกลงปารีสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Paris Agreement)
- Mr. Robert Dobrik -
Chief Executive Officer, Star Petroleum Refining Co., Ltd.
เทคโนโลยี CycloneCCTM ของบริษัทคาร์บอนคลีน จะเป็นโซลูชันใหม่ ในการดักจับคาร์บอนฯ ที่มีขนาดเล็กลงจากเทคโนโลยีแบบเดิมถึง 10 เท่า ช่วยลดต้นทุนทั้งหมดได้มากถึง 50% และสามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 5,000 ล้านตันในปี 2050
- Mr. Aniruddha Sharma -
Co-Founder and CEO, Carbon Clean Solutions Limited สตาร์ทอัพจากสหราชอาณาจักร
Nature-Based Solutions หรือ การดูดซับคาร์บอนฯ ด้วยวิถีธรรมชาติ มีความสำคัญมาก ผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า ภายในปีค.ศ. 2030 วิถีธรรมชาติ มีส่วนมากกว่า 30% ในการจะทำให้บรรลุเป้าหมาย ความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยต้นทุนที่เหมาะสม และปรับเปลี่ยนได้
- Ms. Flora Ji Qing -
Global Vice President, Nature-Based Solutions