คาร์บอนไดออกไซด์
เทียบเท่า
การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
และการรีไซเคิลน้ำ
Environment Standards / Guideline
Environmental management system | ISO 14001:2015 |
Energy management system | ISO 50001:2018 / Solomon Energy Intensity Index |
Water management | Water Stress Index (WSI) / ISO14046 Water Footprint |
Waste management | Reduce, Reuse & Recycle (3Rs) |
การจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่ออรรถประโยชน์สูงสุด (Operational Eco-efficiency)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในกระบวนการผลิตอย่างคุ้มค่า ให้กำลังการผลิตสูงสุดแต่เกิดของเสียและมลพิษน้อยที่สุด มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001: 2015 ซึ่งครอบคลุมทั้งการใช้ทรัพยากรและควบคุมมลพิษ เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบายเชิงรุก สอดคล้องตามเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 5 เครือข่ายสีเขียว (Green Industry Level 5: Green Network) และส่งเสริมแนวทางการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไปยังผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ชุมชนและผู้บริโภค เพื่อผลักดันไปสู่การเป็นเครือข่ายสีเขียว (Green Network) และเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมจนเกิดเป็น วัฒนธรรมองค์กรในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
การสร้างความสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ใช้ประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco-efficiency เป็นดัชนีชี้วัด ซึ่งบริษัทฯ ได้ใช้รายได้ก่อนหักดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่าย (EBITDA) สะท้อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และใช้ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเลียม สะท้อนผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจที่สูงจะแสดงถึงการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง และมีผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ต่ำ
หมายเหตุ : EBITDA และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ขอบเขต 1 และ 2) ของกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นฯ และกลุ่มธุรกิจตลาด
การใช้พลังงาน
พลังงานเป็นต้นทุนที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจและกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตามการใช้พลังงานสร้างผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ และตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 7 (SDG 7) และ 13 (SDG 13) เพื่อลดผลกระทบจากการใช้พลังงานและการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบของการใช้พลังงานดังกล่าวในการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ จึงได้นำระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐานสากล ISO 50001 มาใช้ในการจัดการพลังงาน ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและศูนย์จ่ายตั้งแต่ปี 2557 และ ปี 2562 นี้บริษัทฯ เป็นบริษัทรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 50001: 2018 ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถด้านการจัดการพลังงานสู่มาตรฐานสากลและเป็นรากฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Low-Carbon Product)
บริษัทพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีส่วนผสมของ เอทานอล และไบโอดีเซล ในทุกผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อเครื่องยนต์ ดีต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่น PM2.5 และยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
ปริมาณการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเติมน้ำมันผ่านบัตรสมาชิกบางจาก
การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการเพิ่มสัดส่วนการขนส่งด้วยรถขนาดใหญ่ (กึ่งพ่วง)
บริษัทฯ บริหารจัดการรถขนส่งด้วยการเปลี่ยนจากรถเดี่ยว 2 คัน เป็นรถกึ่งพ่วงขนาดใหญ่ (40,000 ลิตร) นอกจากช่วยลดต้นทุนการขนส่งได้แล้ว ยังลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยน้ำมัน

ร้อยละการขนส่งน้ำมันใสด้วยรถขนาดใหญ่ (กึ่งพ่วง) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(เป้าหมาย: เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 2 ต่อปี ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้การลดจำนวนเที่ยววิ่ง)
การจัดการมลพิษทางน้ำ
บริษัทฯ ในฐานะอุตสาหกรรมพลังงานที่มีการใช้น้ำสูง ได้ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างมากในการ บริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้กำหนดเป้าหมายการลดการใช้น้ำ และควบคุมการใช้น้ำใหม่ รวมถึงบริหารจัดการน้ำด้วยแนวทาง เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนี้บริษัทฯ ยังได้มีการน้ำ Water Stress Index (WSI) ทั้งระดับ 25 Watersheds ของประเทศไทย และ WSI ระดับโลก(1) เพื่อใช้ในการประเมิน Water Scarcity Footprint ของผลิตภัณฑ์ ของบริษัทฯ ตามแนวทาง ISO 14046
ผลการดำเนินงาน ปี 2563
- ปริมาณการรับน้ำจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งสิ้น 21.33 ล้าน ลบ.ม. (รวมแหล่งน้ำผิวดิน แหล่งน้ำบาดาล น้ำจากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ และน้ำจากการประปา)
- ปริมาณการระบายน้ำออกไปยังแหล่งน้ำธรรมชาติ ปริมาณ 0.72 ล้าน ลบ.ม.
- การลดปริมาณน้ำใช้รวม 1.45 ล้าน ลบ.ม.
ร้อยละของการลดการใช้น้ำประปาใหม่เทียบกับความต้องการใช้น้ำในปีนั้นๆ (ร้อยละและปริมาณน้ำที่ลดได้)
*เทียบข้อมูลจากปีฐาน 2558 จากผลรวมของน้ำที่นำกลับมาใช้ใหม่จากการนำน้ำควบแน่น (Condensate Water) คุณภาพดีมาใช้ซ้ำที่หม้อต้มไอน้ำและภายในหน่วยกลั่นที่ 4 รวมกับ การนำน้ำจากหน่วยบำบัดน้ำทิ้งมาปรับปรุงคุณภาพเพิ่มเติมด้วยระบบรีเวอร์สออสโมซิส และการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดจากหน่วยบำบัดน้ำทิ้งมาปรับปรุงคุณภาพเพิ่มเติมด้วยระบบ รีเวอร์สออสโมซิสไปใช้ที่หอหล่อเย็น
การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีที่มีนัยสำคัญ (ครั้ง) (มากกว่า 100 บาร์เรล/ครั้ง)
การป้องกันและจัดการการรั่วไหล
บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยง ผลกระทบ จากการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมีจากการดำเนินงาน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของบริษัทฯ ดังนั้นบริษัทฯ จึงให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในทุกกระบวนการทำงาน รวมถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในทุกกิจกรรมของบริษัทฯ ไม่ให้เกิดการรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การขนส่งน้ำมันดิบจากเรือขนส่งมายังโรงกลั่นบางจาก เพื่อเข้ากระบวนการกลั่นน้ำมัน จนถึงการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันไปยังคลังน้ำมัน จนถึงการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า
การจัดการมลพิษอากาศ
ปัญหามลพิษอากาศเป็นประเด็นสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมพลังงานที่สามารถส่งผลกระทบด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิตของคนในสังคม ประกอบกับปัญหาฝุ่นละอองขนาด 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ที่ปัจจุบันได้ทวีความรุนแรงขึ้นในประเทศไทย บริษัทฯ ตระหนักและให้ความสำคัญอยู่เสมอในการดูแลและควบคุมคุณภาพอากาศที่ปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม โดยจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพนักงาน ผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่โรงกลั่น รวมถึงชุมชนและสภาพแวดล้อมที่อยู่โดยรอบโรงกลั่นและพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทฯ
การจัดการของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว
การบริหารจัดการของเสียเป็นประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญและดำเนินการจัดการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง บริษัทฯยึดแนวทางการบริหารจัดการของเสียตามหลัก 3Rs คือ การลดปริมาณของเสียโดยการลดการใช้ (Reduce) การนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) ตามแนวทางปฏิบัติทั้งในประเทศและต่างประเทศและพิจารณาวิธีการจัดการตามศักยภาพเพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องจากการกำจัดของเสีย และมุ่งสู่เป้าหมายการนำของเสียจากกระบวนการผลิตไปฝังกลบเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงานปี 2563
การจัดการของเสียตามหลัก 3Rs ของปริมาณของเสียทั้งหมด
การละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
การละเมิดกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 |
---|---|---|---|---|
ข้อละเมิดกฎหมาย (กรณี) | 0 | 0 | 0 | 0 |
ค่าปรับ (บาท) | 0 | 0 | 0 | 0 |
หนี้สินค้างจ่าย ณ สิ้นปี (บาท) | 0 | 0 | 0 | 0 |