
ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
ความมั่นคง ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจปิโตรเลียม ไม่เพียงต่อบริษัทฯ เท่านั้น หากสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย อันได้แก่ พนักงาน ผู้รับเหมาและชุมชน บริษัทฯ จึงมีนโยบายด้านความมั่นคง ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย กำหนดให้พนักงานและผู้รับเหมามีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยทั้งต่อตัวเองและเพื่อนร่วมงาน ต่อกฎหมายและมาตรฐาน โดยมีโครงสร้างการบริหารด้านความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน (SHEE) และมาตรฐานด้านความปลอดภัย ISO 45001 ที่บริษัทฯ ใช้ในการบริหารด้านความปลอดภัย นอกจากนั้นแล้ว ยังดำเนินงานเพื่อวางรากฐานระบบบริหารความปลอดภัยกระบวนการ (Process Safety Management: PSM) (Disclosure 403-1)
การบริหารความสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อลูกค้า
บริษัทฯ มีการบริหารความสัมพันธ์ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ ตามกลยุทธ์ในการพัฒนาการดำเนินธุรกิจการตลาดที่มุ่งเน้นการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าและลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Customer Centric) ซึ่งรวมถึงลูกค้าในกลุ่มผู้บริโภค (End User) กลุ่มผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมัน (Dealer) และสถานีบริการน้ำมันชุมชน (COOP) รวมทั้งลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับความสัมพันธ์สู่ระดับความภักดี (Loyalty) ระหว่างลูกค้ากับบริษัทฯ มุ่งสู่เป้าหมายการเป็น The Most Admired Brand ในการยกระดับประสบการณ์ของลูกค้าผ่านคุณภาพผลิตภัณฑ์ สถานีบริการ และงานบริการไปพร้อมกับการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน

การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
บริษัทฯ มีนโยบายความรับผิดชอบทางธุรกิจ ต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยยึดการปฏิบัติตามข้อตกลงโลก (UN Global Compact) ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP) มาเป็นแนวทางและกรอบการดำเนินงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจที่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน โดยกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ให้ คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับยึดถือปฏิบัติ
ในปี 2562 บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยใช้รายการตรวจสอบและเฝ้าระวังประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Human Rights Impact Assessment) ตามกระบวนการ Human Rights Due Diligence-HRDD โดยบริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ครอบคลุมธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ธุรกิจการตลาด และคู่ค้าในประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 100
ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
พนักงาน | คู่ค้า (Contractors & Tier 1 Suppliers) |
บริษัทในกลุ่ม | |
---|---|---|---|
ร้อยละที่ได้รับการประเมินความเสี่ยง 3 ปีล่าสุด | 100 | 100 | 100 |
ร้อยละที่มีการระบุความเสี่ยง | 0 | 0 | 0 |
ร้อยละของความเสี่ยงที่ระบุซึ่งมีมาตรการลดผลกระทบ | 0 | 0 | 0 |

การเจรจาต่อรอง
บริษัทฯ เปิดโอกาสให้มีการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ในการเจรจาสิทธิประโยชน์ของพนักงานกับบริษัทฯ ผ่าน สหภาพแรงงานพนักงานของบริษัทฯ ที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตาม กฎหมาย ปัจจุบันสหภาพแรงงานพนักงาน มีสมาชิกเป็นพนักงาน บริษัทฯ คิดเป็นร้อยละ 50.4 ของพนักงานทั้งหมด โดยมีการประชุมหารือกับผู้บริหารอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแสดงถึงการสนับสนุนสิทธิในการทำงานตามปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UNGP) สหภาพแรงงานฯ มีสิทธิแต่งตั้ง คณะกรรมการลูกจ้าง (ปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 13 คน) เพื่อ พัฒนาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของพนักงานร่วมกับผู้แทน ฝ่ายบริหารทำให้พนักงานได้รับสวัสดิการตรงตามความต้องการ และความคาดหวังอย่างเหมาะสม และมีการประชุมปรึกษาหารือ ร่วมกันทุกไตรมาสตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในปี 2562 จากการ ทบทวนสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ตามความต้องการและความ คาดหวังของพนักงาน บริษัทฯ ได้เพิ่มค่าช่วยเหลือพนักงานระดับ ปฏิบัติการ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การดูแลพนักงาน
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสถานการณ์โลกในด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จึงมุ่งเน้นการดูแลและพัฒนาพนักงาน ซึ่งเป็นทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญที่สุดของบริษัทฯ ให้เป็นผู้มีศักยภาพ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กร ตามค่านิยม I AM BCP นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการรักษาพนักงานและการดึงดูดพนักงานกลุ่มเป้าหมาย (Talent Attraction and Retention) และการเติบโตและความก้าวหน้าทางสายอาชีพ (Career Development and Career Path) โดยมีกรอบแนวคิด เป้าหมาย และการดำเนินงาน ดังนี้
กรอบแนวคิดการดูแลพนักงานตามแนวทาง The BEST Employer
การขับเคลื่อนองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
- เน้นการทำงานเป็นทีมที่ประสานความต่างได้ลงตัว
- เตรียมพร้อม มีความคล่องตัว และความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง
ประสิทธิผลความเป็นผู้นำ
- การพัฒนาผู้นำ
มุ่งเน้นการพัฒนาพนักงาน
- การบริหารค่าตอบแทนและการรักษาพนักงาน
- การพัฒนาพนักงาน
- การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี
ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
- การสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร
มูลค่าทางเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของการลงทุนในด้านการพัฒนาพนักงาน (Human Capital Return on Investment-HC ROI)
โครงการเพื่อยกประสิทธิภาพการทำงาน ลดค่าใช้จ่ายและสร้างมูลค่าเพิ่มของพนักงาน
หลักสูตร/โครงการ | ประโยชน์ต่อธุรกิจ | ประโยชน์เชิงปริมาณที่บริษัทได้รับ เช่น เวลา ค่าใช้จ่าย ฯลฯ | คิดเป็นร้อยละเมื่อเทียบกับการทำงานเต็มเวลาของพนักงาน 1 ต่อ 1
ปี (% of Full time Equivalents-FTE) |
---|---|---|---|
ปรับปรุงกระบวนการ อนุมัติตรวจปล่อยน้ำมันที่ คลังลอยน้ำแทนขนถ่าย ขึ้นบกที่คลังสีชัง | ลดค่า Shipping และค่าเช่าท่อขนส่งน้ำมันบนบก | 30 ล้านบาท/ปี | ร้อยละ 10.58 |
ปรับปรุงการบริหาร Fleet ที่คลังน้ำมันบางจาก | ลดค่าขนส่งน้ำมันไปยังลูกค้า | 16 ล้านบาท/ปี | ร้อยละ 15.58 |
ปรับปรุงกระบวนการ ขนส่งน้ำมัน High Margin Product ในเขตภาคใต้ | ลดค่าขนส่งน้ำมันไปยังลูกค้า | 24 ล้านบาท/ปี | ร้อยละ 8.08 |
ปรับปรุงกระบวนการจัดหา อุปกรณ์หลักในสถานี บริการน้ำมัน | ลดค่าใช้จ่ายในการจัดหาตู้จ่ายและถังน้ำมันใต้ดิน | 23 ล้านบาท/ปี | ร้อยละ 22.40 |
BCP | 4.00 | 3.55 | 5.63 |
ปี | 2560 | 2561 | 2562 |
สัดส่วนค่าตอบแทนต่อพนักงาน (หญิงต่อชาย)
ผลการดำเนินงานด้านการสรรหาบุคลากร ปี 2562
ปี 2559 | ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | |
---|---|---|---|---|
อัตรากำลังคน (คน) | 1,196 คน | 1,240 คน | 1,254 คน | 1,251 คน |
อัตราส่วนของการจ้างงานสำเร็จตามแผน (เป้าหมาย) |
ร้อยละ 89.50 (ร้อยละ 85) |
ร้อยละ 91.80 (ร้อยละ 85) |
ร้อยละ 94.44 (ร้อยละ 85) |
ร้อยละ 90.72 (ร้อยละ 85) |
การจ้างงานคนพิการ (เป้าหมาย) |
- - |
6 คน (13 คน) |
13 คน (13 คน) |
13 คน (13 คน) |
การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนและสังคม
การพัฒนาสังคมถือเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารกิจการของบริษัท บางจากฯ โดยได้ถูกกำหนดไว้ในวัฒนธรรมองค์กรและวัฒนธรรมพนักงาน ในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้เกิดความยั่งยืน
ชุมชน
ประมาณการประชากร
10 ชุมชนในเขตบางนา / พระโขนง
1 แฟลตทหาร
1 ต.บางน้ำผึ้ง
อ.พระประแดง
17,885 คน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
28,594 คน
ร้อยละ 55.58
งบด้านการพัฒนา
ร้อยละ 59.77
งบด้านบริจาคร้อยละ 12.89
ครอบครัว
ประมาณการประชากร
5,098 ครัวเรือน ที่เป็นสมาชิกจุลสารครอบครัวใบไม้
5,098 คน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
5,954 คน
ร้อยละ 11.57
งบด้านการพัฒนา
ร้อยละ 5.02
โรงเรียน
ประมาณการประชากร
19 โรงเรียนเขตบางนา พระโขนง และ ต.บางน้ำผึ้ง
14,363 คน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
15,117 คน
ร้อยละ 29.38
งบด้านการพัฒนา
ร้อยละ 13.19
งบด้านบริจาคร้อยละ 5.72
คอนโด
ประมาณการประชากร
18 โครงการรอบโรงกลั่น
4,817 คน
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
1,780 คน
ร้อยละ 3.46
งบด้านการพัฒนา
รร้อยละ 3.41
การลงทุนทางสังคม 22.72 ล้านบาท
*ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ทั้งหมดทุกกลุ่มในปี 2562 = 51,445 คน
ผลลัพธ์การดำเนินงานด้านชุมชนสัมพันธ์ (ร้อยละ)





สรุปผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมเกษตรกรปันสุขพื้นที่โคกตูม
250,135 บาท
750,770 บาท
สรุปผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมโครงการน้ำมันพืชใช้แล้วชุมชน
575,833 บาท
283,831 บาท



