จากวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ “Evolving Greenovation : มุ่งสู่กลุ่มบริษัทนวัตกรรมสีเขียวชั้นนำในเอเชีย ที่มีบรรษัทภิบาลที่ดี และดำเนินธุรกิจ ด้วยแนวทางแบบมีส่วนร่วมและยั่งยืน” การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียถือเป็นเรื่องสำคัญที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์มาอย่างต่อเนื่อง โดยการนำข้อมูลการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสียมาใช้ประกอบการวางแผนเชิงกลยุทธ์ของบริษัทฯ นอกเหนือจากกรอบแนวคิดและเครื่องมือในการวางแผนเชิงกลยุทธ์อื่นๆ เช่น การสำรวจสภาพแวดล้อมของธุรกิจ (Business Environment Scanning) การจัดทำฐานข้อมูล (BIG Data) การประเมินภาพจำลอง (Scenario) และความเสี่ยงที่ผ่านการประเมินผลได้ผลเสียอย่างรอบด้าน (Intelligent Risks) เพื่อที่จะตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อีกทั้งสามารถสร้างสมดุลระหว่างมูลค่าและคุณค่าจากการดำเนินธุรกิจให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความเชื่อมั่นในการดำเนินงานระหว่างบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย
กระบวนการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย
ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียและจัดลำดับโดยพิจารณาจาก 3 เกณฑ์
- กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
- บริษัทฯ สร้างผลกระทบด้านความยั่งยืนให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่
- กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียมีอิทธิพลที่จะมีผลกระทบด้านความยั่งยืนต่อบริษัทฯ หรือไม่
การดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย มีขั้นตอนที่สำคัญดังนี้
- กำหนดส่วนงานผู้รับผิดชอบกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
- กำหนดวิธีการสำรวจความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเป็นระบบและความถี่ในการดำเนินงาน
- รวบรวมข้อมูลความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
การวิเคราะห์และคัดเลือกประเด็นสำคัญ
- พิจารณาความสำคัญของประเด็นความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียตามบริบทที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบความเสี่ยง โอกาส และความสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายขององค์กร ทั้งความสำคัญต่อผู้มีส่วนได้เสีย และความสำคัญ ต่อองค์กร
การนำผลไปดำเนินการ
- เสนอผลการวิเคราะห์ต่อคณะกรรมการนโยบายความยั่งยืนองค์กร (SPC) เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และจัดทำกลยุทธ์องค์กร
บริษัทฯ ได้จำแนกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ผู้ถือหุ้น สังคมและชุมชน สื่อมวลชน เจ้าหนี้ หน่วยงานราชการ และคู่แข่งทางการค้า (Disclosure 102-40) โดยมีการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและความคาดหวัง ที่แตกต่างกัน
ด้านเศรษฐกิจ (11 ประเด็น)
- การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
- การปฏิบัติตามกฎหมาย และเงื่อนไขสัญญา
- 3.1 การพัฒนาสินค้า และคุณภาพน้ำมัน / 3.2 การพัฒนา คุณภาพการบริการ / 3.3 การต่อต้านทุจริต
- การบริหารจัดการความเสี่ยง
- การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
- ความหลากหลายและการขยายธุรกิจ Non-oil
- จัดส่งน้ำมันครบถ้วนและลดจำนวนครั้งที่เรือชำรุด เสียหาย
- ทำเลที่ตั้งของสถานีบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก
- นักลงทุนสัมพันธ์
ด้านสิ่งแวดล้อม (6 ประเด็น)
- การใช้พลังงาน
- การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การบริหารจัดการน้ำ
- การรั่วไหลของน้ำมันและสารเคมี
- การปล่อยมลพิษอากาศ
- การบริหารจัดการของเสีย
ด้านสังคม (8 ประเด็น)
- ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
- การมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชน
- การดึงดูดและการรักษาพนักงาน
- โอกาสทางอาชีพ
- สิทธิมนุษยชน
- การพัฒนาสังคม
- การพัฒนาพนักงาน
- การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรม